วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

Kinnaree


กินรี (ตัวเมีย) และ กินนร (ตัวผู้) เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์
ร่างกายท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก มีปีกบินได้
ตามตำนานเล่าว่าอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ เชิงเขาไกรลาศ
นับเป็นสัตว์ที่มีปรากฏในงานศิลปะของไทยมากมาย ส่วนในวรรณคดีไทยก็มีการอ้างถึงกินรีด้วยเช่นกัน
ในงานจิตรกรรมไทยนิยมวาดภาพกินร และกินรีไว้ในที่ต่างๆ ในฉากของป่าหิมพานต์
นอกจากนี้ยังมีการปั้นรูปกินรและกินรีประดับไว้ในสถานที่สำคัญด้วย


Thep Kinnaree is one of the loveliest of the Himmapan beings.
Described as a beautiful half-woman, half swan, with the head and torso of a woman yet below the delicately tapered waist she has the body, tail and legs of a swan. Kinnaree also has human arms and the wings of a swan.
While the Kinnaree has a male counterpart (the Kinnara or Kinna Norn) and is similar in form.
The Kinnaree is renowned for her excellence in singing, dancing and her graceful form is often seen in sculpture, traditional architectures, and temple murals.

ข้อมูลจาก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ภาษาไทย
himmapan.com ภาษาอังกฤษ

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

The Marble temple




ใน พ.ศ. 2441 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสวนดุสิต โดยใช้วัดดุสิตเป็นที่สร้างพลับพลา และใช้สถานที่วัดร้างตัดถนน ซึ่งต้องสร้างวัดขึ้นทดแทนตามประเพณี ได้ทรงเลือกวัดเบญจมบพิตรเป็นวัดที่ทรงสถาปนาตามพระราชดำริว่า การสร้างวัดใหม่หลายวัดยากต่อการบำรุงรักษา ถ้ารวมเงินสร้างวัดเดียวให้เป็นวัดใหญ่ และทำโดยฝีมือประณีตจะดีกว่า จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ทรงออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถและถาวรวัตถุอื่น ๆ และมีพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นนายช่างก่อสร้าง เริ่มสถาปนาวัดในราว พ.ศ. 2442 และโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อวัดจาก “วัดเบญจบพิตร” เป็น “วัดเบญจมบพิตร” หมายถึง วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5 และทรงเพิ่มสร้อยนามว่า ดุสิตวนาราม เพื่อให้คล้องกับพระราชวังดุสิตที่ทรงสร้างขึ้นใหม่วัดเบญจมบพิตรมีสิ่งสำคัญในวัด เช่น พระอุโบสถที่มีสถาปัตยกรรมงดงามมาก และใช้หินอ่อนสีขาวบริสุทธิ์ในการก่อสร้าง ส่วนพระประธานในพระอุโบสถมีพระพุทธชินราชจำลอง พระที่นั่งทรงผนวชซึ่งรื้อมาจากบริเวณพุทธรัตนสถานในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยประทับเมื่อทรงพระผนวชใน พ.ศ. 2416 และศาลาสี่สมเด็จซึ่งเป็นศาลาจตุรมุขสร้างด้วยทุนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ศาลาบัณณรศภาค เป็นศาลาจตุรมุข สร้างด้วยทุนทรัพย์ของพระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส พระราชธิดาและพระญาติในรัชกาลที่ 5 รวม 15 พระองค์

ข้อมูลทั่วไป
ชื่อสามัญ วัดเบญจ
ประเภท พระอารามหลวงชั้นเอก
นิกาย เถรวาท
ความพิเศษ เป็นวัดประจำพระราชวังดุสิต
พระประธาน พระพุทธชินราช(จำลอง)
พระพุทธรูปสำคัญ พระหริภุญชัยบรมโพธิสัตว์ พระฝาง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

"รักเธอ ประเทศไทย..."

เรื่องเล่าของความเป็นไทย

ผู้ที่ถ่ายทอดได้ที่สุดก็คงจะเป็นฅนไทย

แม้จะบอกว่านี้คือ ความเป็นไทย

แต่ผ่านการบอกเล่า จากผู้อื่นที่ไม่ใช่ฅนไทย

ก็คงไม่สวยงามเท่า

ศิลปะของไทย สร้างโดยช่างไทย

ดูอย่างไรก็บ่งบอกถึงความเป็นไทย

ศิลปะไทย สร้างโดยฅนชาติอื่น

ฅนไทยดูก็รู้ว่า ไม่ใช่ของไทย

เรื่องราวความเป็นไทย

ไม่ว่าจะเป็นศิลปะของไทย

วัฒนธรรมไทย ภาษาไทย

รวมทั้งอาหารไทย ย่อมมีเสน่ห์อยู่ในตัวเอง

ภูมิใจกับเรื่องราวของความเป็นไทย

ที่บรรพบุรุษสะสม และสืบทอดต่อๆกันมา

"รักเธอ ประเทศไทย..."


วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2551